มาขุดสระว่ายน้ำกันเถอะ

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

อาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2553
กลุ่มสระว่ายน้ำเริ่มขุดหลุมสำหรับทำสระกันแล้วครับ
น้องๆ มาช่วยกันขุดกันอย่างขันแข็ง แม้ว่าแดดจะร้อนขนาดไหน


กลุ่มสนามเด็กเล่น ก็ช่วยกันเก็บกวาดพื้นที่ รื้อหญ้ารกๆ และขยะจนเอื่อม
พร้อมปรับที่ดิน มีหลุมมีเนินสำหรับวิ่งเล่นได้


กลุ่มศาลาผู้ใหญ่ที่ปรับพื้นที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ไปเตรียมโครงสร้างไม้กันที่ camp
ส่วนใหญ่เป็นไม้วงกบมารื้อถอดเป็นชิ้นๆ และเอามาประกอบเข้าด้วยกัน
ได้เป็นเสา คาน และผนังต่างๆ ไว้คอยดูตอนประกอบ อิอิ




ป๊าดดดดด มีโมเดลด้วย

วันรวม

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ 22 มีนาคม 2553
ณ ห้องสมุด และลานมะขาม ชุมชนตลาดเก่ามีนบุรี

วันนี้นัดคุยกันต่อจากเมื่อวานครับ แต่แยกเป็นกลุ่มเด็กกับกลุ่มผู้ใหญ่
เวลา 10 โมงเช้านัดเด็กๆ มากันก่อน อย่างพร้อมหน้าพร้อมตา
ตามแผนงานวันนี้ต้องการหาความต้องการและรูปแบบที่ชัดเจนขึ้นของโครงการ
ว่าจะเป็นแบบไหน อยู่ตรงไหน ทำออกมายังไง ใช้อะไรทำบ้าง
โดยวิธีการคราวนี้คือ นำภาพตัวอย่างที่หามาจากเน็ตบ้างหนังสือบ้าง
ทำเป็นสไลด์ฉายให้ดูบนผนังห้อง แล้วแจกกระดาษให้โหวตเลือกกันเลย



จากนั้นก็เก็บการบ้านที่ให้ไว้เมื่อวานว่าเด็กๆ อยากได้อะไรให้มาเขียนรวมกันเอาไว้
แล้วแทนด้วยกล่องสีต่างๆ ตามแต่ละกิจกรรม เพื่อมาช่วยกันวางตำแหน่ง zoning คร่าวๆ
ตีกันบ้างอะไรกันบ้าง เพราะอยากได้กันร้อยแปดอย่างในพื้นที่เท่าที่เห็น ฮา
น่ารักตรงที่น้องผู้ชายบอกว่าถ้าน้องผู้หญิงมาช่วยทำสระ ก็จะให้เล่นด้วยกันได้
เลยเกิดความสงสัยถ้าผู้ชายช่วยทำห้องเต้น ต้องไปร่วมเซิ้งกับเค้าตอนมีงานด้วยมั้ย 55


แต่บางอันอย่างสระว่ายน้ำนี่คิดไม่ออกจริงๆ ว่าจะทำได้ยังไง
เพราะภาพที่คิดมันคือ สระว่ายน้ำ!! ที่คุ้นเคยกัน เลยพยายามบอกน้อง
ว่ามันไม่ได้หรอก จนเด็กแบบหน้าจ๋อย ถอยออกไปห่างเลยก็มี
ยังดีที่อ.พี่ป่องมาแนะนำให้ว่าเราไปตัดสินเองไม่ได้ ต้องคิดว่าทุกอย่างทำได้
แต่มันจะออกมายังไงนี่อีกทีนึง ขึ้นอยู่กับอะไรหลายๆ อย่างที่ทุกคนต้องเจอเองจนรู้ว่า
ที่มันไม่ได้เพราะอะไร ไม่ใช่ไม่ได้เพราะสถาปนิกคิดเองเออเอง
เลยลองให้เด็กๆ หาเชือกมาช่วยกันขึงขนาดสระและวางตำแหน่ง
ปรากฎว่าจริงๆ แล้วสระของเด็กน้อยมันก็เล็กนิดเดียว ไม่ได้เป็นอย่างที่เราๆ คิดกัน
มงเห็นโอกาสที่จะทำได้อยู่ริบๆ เห็นดีเห็นงามเลยลองใช้กับกลุ่มอื่นๆ ด้วย
ให้ลงไปว่ายเล่นก็ว่ายกันอย่างกะมีน้ำอยู่จริง งั้นเล่นอย่างนี้เลยก็ได้นะ 555
นับเป็นบทเรียนทำสำคัญของวันนี้เลยทีเดียว อย่าคิดเองนะสถาปนึก!!


ตอนเย็นมาประชุมผู้ใหญ่ต่อ นี่มันไม่ใช่นั่งคยธรรมดาๆ แล้ว มันประชุมสภาหมู่บ้านชัดๆ
มากันเยอะม๊ากกก แกนนำโดยครูสุนีย์และพี่เชน เล่นเอาพวกเราตัวเกรงเลย ไม่รู้จาเริ่มยังไง
อึกอักๆ อญุ่พักใหญ่ ป้าๆ ก็เริ่มเม้าท์ เริ่มคุยกันมากขึ้น ค่อยใจชื้นขึ้นมาหน่อย
แต่ก็ไม่ค่อยได้อะไรชัดเจนมากนัก ส่วนใหญ่บอกว่าให้เราทำเลย เพราะเค้าคงคิดว่าเราเรียนมา
คงมีปัญญาเลือก หรืออกแบบสิ่งที่ดีที่เหมาะอยู่แล้ว (หารู้ไม่คิดผิดถนัด 555)
จบประชุมสมัชชาตำบล มีเลี้ยงด้วยนะครับ เป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำ อะไรสักอย่าง ไม่ได้กินมัวแต่ถ่ายรูป ฮ่าๆ
ขอบคุณพี่เชน ยายแดง ป้ามาลี ที่ทำกับข้าวเลี้ยงพวกเราครับ




วันปักธง

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

ศุกร์ 26 มีนาคม 2553
ณ พื้นที่ว่างใกล้สนามเด็กเล่น ชุมชนตลาดเก่ามีนบุรี


งานวันนี้คือการลงหลักปักธงพื้นที่ส่วนต่างๆ ครับ
โดยมีทีมงานสาระคดีตามติดชีวิตพี่ป่องมาถ่ายทำด้วย จริงๆ ตามมาหลายวันแล้ว
เด็กเลยลั่นล้ากันเป็นพิเศษ แต่งตัวสวยๆกันเกินปกติ ฮา ไม่รู้ถ่ายไปจะได้ดูมั่งป่าว



กลับมางานของเรา พอปักตำแหน่งแล้ว ให้เด็กๆ ช่วยกันล้อมจับจองพื้นที่ของตัวเอง
ใช้เชือกสีต่างๆ สีฟ้าสระว่ายน้ำ สีเหลืองห้องซ้อมเต้น สีแดงเวทีการแสดง สำน้ำตาลเขาวงกต
สีเขียวสนามและสวน




ส่วนคนที่เหลือก็ช่วยกันถางหญ้ารกๆ เก็บๆเคลียพื้นที่เตรียมงานไปบางส่วน
ทำให้เริ่มมองเห็นระดับดินเดิมที่มันเป็นเนิน เป็นหลุมเหมาะแกการเป็นสนามอยู่แล้ว
เลยต้องมาคิดกันว่าจะเก็บต้นไม้ หรือพุ่มไม้ตรงไหนไว้บ้าง ดินตรงไหนต้องขุด
ตรงไหนต้องถม เพื่อเตรียมวางแผนการทำงานกันต่อ

วันแรก

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

22 มีนาคม 2553
ห้องสมุด ชุมชนตลาดเก่ามีนบุรี

วัน เปิด วันแรกอย่างเป็นทางการ โดยตามแผนงานจะเป็นการแนะนำตัว
ทั้งอ.พี่ ป่อง และนักศึกษาฝึกงานทุกคน ให้พี่ ป้า น้า อา ในชุมชนได้รู้จัก
ส่วน เด็กๆ นี่รู้จักกันดี (เพราะแอบเข้ามาวิ่งเล่นกันก่อนหน้านี้หนึ่งสัปดาห์แล้ว)
และก็อธิบายว่า จะมาทำอะไรกัน ยังไง ตรงไหน ต้องช่วยกันทำนะ ไม่มีเงินด้วย
มีแต่แรงงาน อันน้อยนิด กับวัสดุนิดหน่อย ที่เหลือใจล้วนๆ ครับงานนี้


โดยรวมชาวบ้านและเด็กๆ ก็รู้อยู่แล้วหละ ว่าจะยังไง เพราะทำกันมาสองปีแล้ว
เลย มาประชุมกันบางตาไปหน่อย ไม่ว่ากัน เพราะแต่ละบ้านส่งเด็กมาเป็นกองหน้า
ซะ ล้นห้องสมุดทีเดียว


เวลา 10.30น. อ.พี่ป่อง กล่าวแนะนำและเปิดกิจกรรม พร้อมภาพประกอบใน
สไลด์ ที่เตรียมกันมา เด็กๆ ดูจะตื่นเต้นกับภาพตัวอย่างสนามเด็กเล่นอันใหม่
ชี้ ไม้ชื้มือกันใหญ่โต เสียงจอแจลั่นซอยเลย ฝ่ายผู้ใหญ่ก็ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะ
พี่ เชนที่ดูจะถูกใจกับตัวอย่างสวนพร้อมที่นั่งเล่นแบบเล่นระดับอยู่ไม่น้อย
ถึง ขนาดประกาศกร้าวว่า "เอาแบบนี้เลย !!" ฮา
งานนี้เล่นเอาโมเดลที่เตรียมไป ตกกระป๋องซะอย่างงั้น ..



เป็นอันจบพิธีการแรกไป ที่เหลือก็ชิวๆ ครับ จัดการฉายหนังกลางแปลง เอ้ยย
การ์ตูน "up คุณปู่ซ่า" ให้เด็กๆ ดูกันจอใหญ่ๆ ส่วนคนโตๆ ก็หลบออกมา
นั่งคุยกัน ต่อ อ.พี่ป่องกับ พี่เชน พี่อ้นช่วยกันเล่าความหลังตลาดเมื่อครั้งยังเด็ก
กัน อย่างสนุกสนาน จนคำพูดแทบจะรวมกันกลายเป็นภาพสามมิติกันตรงนั้นเลย
ฮา มีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ น่าสนใจมากมาย ให้เก็บมาค้นคว้าข้อมูลกันต่อไป



ครั้งหน้ามาคุยกันต่อนะครับ บ๊ายบายพ่อแม่พี่น้อง บ๊ายบายเด็กๆ



ยินดีต้อนรับสู่ community space ของชุมชนตลาดเก่ามีนบุรี


ปิดเทอมฤดูร้อนปีนี้ กลุ่มสถาปนิกชุมชนเพื่อที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
(Community Architects for Shelter and Environment (CASE)
เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาฝึกงานได้เข้ามาเรียนรู้และร่วมกันกับชาวชุมชนตลาดเก่ามีนบุรี
เพื่อ ปรับปรุง และพัฒนาพื้นที่ว่างภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์ใช้สอยร่วมกัน
ทั้ง เด็ก และผู้ใหญ่ ต่อยอดจากโครงการใน 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จ
และ ตอบสนองการใช้งานของคนในชุมชนได้อย่างนาพอใจทั้งสนามเด็กเล่น (2551)
และ ห้องสมุด (2552) ในปีนี้มีพื้นที่ว่าง 2 จุดที่ชาวชุมชนอยากปรับปรุง

จุดแรกคือ พื้นที่รกร้างริมน้ำติดหลังศาลเจ้า
โดยคิดว่าจะปรับปรุงต่อเนื่อง กับสนามเด็กเล่นเดิมที่มีอยู่แล้วให้กว้างขึ้นไปอีก รองรับ
จำนวนเด็กๆ ที่อยากเข้ามาเล่นร่วมกันมากขึ้น รวมทั้งมีสระว่ายน้ำเล็กๆ น่ารักสำหรับเด็กๆ
ไว้เล่นคลายร้อน และกิจกรรมภายในชุมชนที่จัดกันบ่อยขึ้น น้องๆ เลยอยากได้ห้องสำหรับ
ซ้อม เต้นไว้ในบริเวณนี้ด้วย ซึ่งสภาพพื้นที่เองก็อาจทำเพิ่มเป็นเวทีการแสดงและที่นั่งชม
กลางแจ้ง เพิ่มเข้าไปได้ด้วยหละครับ



จุดที่สองคือ พื้นที่บริเวณสามแยกทางเข้าชุมชน

เดิมทีปล่อยรกร้าง ใช้ตากปลา ตากขนมบ้าง ชาวบ้านอยากปรับปรุงเป็นพื้นที่สำหรับนั่งคุย
พบปะหรือประชุม กัน อาจทำเป็นสวนหย่อมเล็กๆ ให้ได้สดชื่นเพราะมีคนเดินผ่านไปผ่านมา
อยู่ ตลอดทั้งวัน







นักศึกษาฝึกงาน ปิดเทอมฤดูร้อน 2553








1 เกวลิน พิมสอน อั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2 วรัญญา มาลา โป๊ะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3 ภัทร สุขสิงห์ สตีฟ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4 อารยา เรืองคงเกียรติ ก้อย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5 สุพัตรา กลั่นเกลี้ยง ตั๊ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6 พัฒตราพร พ่วงพร้อม แอม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7 นฤดล ปานพลับ เอ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8 ภัทรพล ตั้งกลชาญ ฮอกกี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9 ชุติมา กลั่นสุภา รัก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10 ศิรินภา จันทรโคตร ส้ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
11 กนกพร ชาไข นก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
12 ปัทมา พรภิรมย์ มิก มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์
13 คนึงนิจ ชูกำเนิด นิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญญบุรี
14 กุลนันท์ ผาติวัฒน์ โบตั๋น มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญญบุรี
15 วีรพงษ์ ชมฉิน แอด มหาวิทยาลัยนเรศวร
16 นิศารัตน์ ทองประไพ แอ๋ม มหาวิทยาลัยนเรศวร
17 สุนิษา กาวิระ ต้า มหาวิทยาลัยนเรศวร
18 อมรเทพ อิทธิพร เฮง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
19 นิวัฒน์ ช่างจักร์ โต้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น